top of page

พลังงานหมุนเวียน

 

รหัสวิชา ง 22101       ชื่อวิชา  การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34   
ช่วงชั้นที่  2  ชั้นปีที่  1   
ครูผู้สอน ดรุณี   กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย  จังหวัดเชียงใหม่          

บทที่ 4   เรื่อง  พลังงานหมุนเวียน

สาระที่  3:  การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1  :  เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี  ใช้ความรู้  ภูมิปัญญา  จินตนาการ  และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ  สร้างสิ่งของเครื่องใช้  วิธีการเชิงกลยุทธ์  ตามกระบวนการเทคโนโลยี  สามารถตัดสินใจ  เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม  โลกของงานและอาชีพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

 

  • เข้าใจความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน

  • บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้

  • เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

  • เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม

  • เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ

  • เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล

  • เข้าใจความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ

  • มีเจตคติที่ดีต่อการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตเพื่อการดำรงชีวิต 

  • จุดประสงค์การเรียนรู้

  • บอกความหมาย ประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน

  • บอกประเภทของพลังงานหมุนเวียนได้

  • อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์

  • อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานลม

  • อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานน้ำ

  • อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวมวล

  • อธิบายความหมาย  ประโยชน์ และประยุกต์ใช้พลังงานชีวภาพ

  • แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพลังงานในชีวิตประจำวันได้

  • สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนได้

  •  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้  

  • 1.   ความสามารถในการสื่อสาร   

  • 2.   ความสามารถในการคิด  

  • 3.   ความสามารถในการแก้ปัญหา  

  • 4.   ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต    

  • 5.   ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

 

หน่วยการเรียนที่ 4 เรื่องพลังงานหมุนเวียน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy)


พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy)    คือ แหล่งพลังงานที่ได้จากธรรมชาติรอบตัวเรา หามาใช้ได้ไม่มีวันหมด ซึ่งสามารถสร้างทดแทนได้ในช่วงเวลาสั้นๆ โดยธรรมชาติหลังจากมีการใช้ไป จึงมีหลายชื่อที่ใช้เรียก - พลังงานทดแทนและพลังงานใช้ไม่หมด รวมถึงพลังงานสะอาดและพลังงานสีเขียว เนื่องจากไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
ตัวอย่างของพลังงาน ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานลม, พลังน้ำ, พลังงานคลื่นในทะเล, พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง, พลังงานชีวมวล, พลังงานความร้อนใต้พิภพและพลังงานไฮโดรเจน ฯลฯ

 

ทำไมเราไม่นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ จะได้ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ต้องประสบปัญหาข้อจำกัดตามธรรมชาติที่ว่า พลังงาน (บางชนิด) มีอยู่มากก็จริง ทว่าไม่สามารถนำมาใช้ได้ทุกเวลาและไม่เพียงพอ เช่น ถ้าท้องฟ้ามืดครึ้มจะไม่มีแสงอาทิตย์ ถ้าลมสงบจะไม่มีลมไปหมุนกังหัน หรือถ้าระดับน้ำในเขื่อนไม่เพียงพอก็ผลิตไฟฟ้าไม่ได้ แต่มนุษย์ก็ไม่ยอมแพ้ต่อธรรมชาติเพียงแค่นั้น มีการรู้จักเก็บพลังงานไว้หรือเพิ่มการผลิตให้มากขึ้นเพื่อนำพลังงานไปใช้ต่อไป และนั่นทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น หากเทียบกันแล้วการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจะถูกกว่า จะเห็นได้ว่าพลังงานหมุนเวียนอาจใช้แก้ปัญหาพลังงานไม่ได้ทั้งหมด แต่เป็นอีกหนึ่งทางเลือกจากธรรมชาติที่มีคุณค่า ช่วยลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อมได้เป็นอ

  ข้อดี
• สามารถหาได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดบนโลก
• สามารถผลิตพลังงานได้ตลอดเวลา เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ
• ใช้ไม่มีวันหมด
• เป็นแหล่งพลังงานที่ได้มาฟรี
• นำมาผลิตไฟฟ้าได้ในราคาถูก เช่น พลังน้ำ
• มีความเสถียรในเรื่องราคาพลังงาน
• เป็นพลังงานสะอาด ไม่สร้างมลพิษทางอากาศ, น้ำและไม่เกิดขยะของเสีย

 

ข้อเสีย
• พบได้เฉพาะบางพื้นที่เท่านั้น เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ
• ไม่สามารถผลิตพลังงานได้อย่างต่อเนื่อง
• ต้นทุนในตอนเริ่มต้นสูง
• ต้องมีการเก็บพลังงานไว้ ซึ่งไม่คุ้มค่าเชิงพาณิชย์
• ต้องใช้พื้นที่มากในการติดตั้ง
• อาจเป็นสาเหตุของมลพิษทางอากาศ เช่น พลังงานความร้อนใต้พิภพ
• อาจทำให้โลกร้อนขึ้นได้ เช่น การเผาไหม้ของพลังงานชีวมวล
• เกิดมลพิษทางเสียง เช่น พลังงานลม
• อาจทำลายระบบนิเวศน์และส่งผลต่อการอพยพย้ายถิ่นฐานของสิ่งมีชีวิต

 

© 2014 by Ramblas FC. Proudly created with Wix.com

GET MORE FROM THE TEAM:

  • Instagram Clean
  • Facebook Clean
  • Twitter Clean
bottom of page