การออมทรัพย์
รหัสวิชา ง 22101 ชื่อวิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยี 34
ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นปีที่ 1
ครูผู้สอน ดรุณี กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
บทที่ 1 เรื่อง ธรรมชาติและวิวัฒนาการของเทคโนโลยี
สาระที่ 3: การออกแบบและเทคโนโลยี
มาตรฐาน ง 3.1 : เข้าใจธรรมชาติและกระบวนการของเทคโนโลยี ใช้ความรู้ ภูมิปัญญา จินตนาการ และความคิดอย่างมีระบบในการออกแบบ สร้างสิ่งของเครื่องใช้ วิธีการเชิงกลยุทธ์ ตามกระบวนการเทคโนโลยี สามารถตัดสินใจ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม โลกของงานและอาชีพ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. เข้าใจความหมาย ความสำคัญของเทคโนโลยี
2. เข้าใจธรรมชาติ ประโยชน์ ของเทคโนโลยี
3. บอกประวัติ และวิวัฒนาการของเทคโนโลยีตามยุคสมัย
4. บอกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีไทย
5. มีเจตคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตเพี่อการดำรงชีวิต
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. บอกความหมาย ความสำคัญของเทคโนโลยีได้
2. อธิบายประโยชน์ ของเทคโนโลยี
3. บอกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีตามยุคสมัย
4. บอกวิวัฒนาการของเทคโนโลยีไทย
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
หน่วยสาระการเรียนรู้ที่ 7 การออมทรัพย์
การออมทรัพย์ เป็นการเก็บเงินไว้เพื่อใช้จ่ายในวันข้างหน้า เพื่อซื้อสิ่งที่ต้องตามที่ได้ตั้งจุดประสงค์และวางแผนไว้ การออมทรัพย์เกิดจากการเก็บสะสมเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายทีละเล็กละน้อยเป็นการชะลอการใช้เงินซึ่งจำนวนเงินที่ออมคือส่วนของรายได้ที่เหลืออยู่ สำหรับสิ่งจูงใจในการออม คือ เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งในอนาคต ซึ่งได้กำหนดไว้อย่างชัดแจ้งแน่นอน จึงก่อให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะออมมากขึ้น เป้าหมายของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและความต้องการเป็นสำคัญ เป้าหมายในการออมที่ต่างกันเป็นสิ่งกำหนดให้จำนวนเงินออมและระยะเวลาในการออมทรัพย์แตกต่างกัน ซึ่งในทางทฤษฎี ปกติควรจะเก็บออมประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ที่ได้รับ แต่มิใช่เป็นกฎตายตัวจำนวนเงินออมจะมากน้อยเท่าไรขึ้นอยู่กับรายได้และความรับผิดชอบของครอบครัวต่อสมาชิกในครอบครัว หากรายได้ที่ได้รับใช้จ่ายเฉพาะตัว ก็สามารถเก็บออมได้ ในอัตราสูง เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงก็จะมีผลต่อการออมด้วย การออมจะทำได้ง่ายสำหรับคนโสด หรือครอบครัวที่ไม่มีลูกที่ต้องเลี้ยงดู
1. การออมทรัพย์ หมายถึง การประหยัด การเก็บสะสมไว้ใช้ในอนาคตเมื่อมีเหตุการณ์จำเป็น เช่น เจ็บป่วย หรือเมื่อเข้าสู่วัยชรา การออมทรัพย์ไม่ใช่การเก็บเงินไว้เฉย ๆ แต่อาจจะนำไปฝากธนาคาร ซื้อสลากออมสิน หรือซื้อพันธบัตร หรือการทำประกันชีวิต เพื่อให้เกิดดอกออกผล
การออมทรัพย์ในวิชาเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การออมทรัพย์ในระบบหรือการออมทรัพย์โดยผ่านสถาบันการเงินทุกประเภท ปัจจัยที่จูงใจให้ผู้บริโภคมีการออมทรัพย์ในระบบเพิ่มมากขึ้น มีหลายประการ คือ
1.1 ผลตอบแทน (ดอกเบี้ย) ดอกเบี้ยเงินฝากของสถาบันการเงินจะเป็นสิ่งจูงใจ โดยตรงต่อการออมทรัพย์ของผู้บริโภค กล่าวคือ ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงขึ้น จะจูงใจให้มีการฝากเงินออมทรัพย์เพิ่มมาขึ้น
1.2 ความมั่นคงของสถาบันการเงิน ความมั่นคงของสถาบันการเงินย่อมเป็นการเพิ่มความมั่นใจ ความปลอดภัยและความศรัทธาแก่ผู้บริโภค ซึ่งจะทำให้เกิดการออมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น
1.3 การแพร่กระจายของสถาบันการเงิน ถ้าสถาบันการเงินมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น และมีการแพร่กระจายออกไปทุกหนทุกแห่ง เป็นการอำนวยความสะดวกในการออมทรัพย์ของผู้บริโภค ก็จะมีผลทำให้การออมทรัพย์เพิ่มขึ้น
1.4 การควบคุมระดับราคาสินค้าหรือบริการ ถ้าระดับราคาสินค้าหรือบริการสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง จะทำให้ผู้บริโภคออมทรัพย์น้อยลง เพราะผลตอบแทนจากการออมทรัพย์ไม่สามารถชดเชยการสูญเสียรายได้จากภาวะเงินเฟ้อ แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าระดับราคาสินค้าหรือบริการลดลง ย่อมจะทำให้การออมทรัพย์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้นเนื่องจากรายจ่ายเพื่อการบริโภคจะต่ำลง
2. จุดมุ่งหมายในการออมทรัพย์
การออมทรัพย์เป็นการสะสมอำนาจซื้อในปัจจุบันเพื่อใช้จ่ายในอนาคต การออมทำได้ไม่ยากเพียงกำหนดจุดมุ่งหมายของการออมว่าเป็นการออมทรัพย์ระยะสั้นหรือระยะยาว
2.1 การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะสั้น เช่นการออมเพื่อซื้อสิ่งของที่มีราคาแพงเกินกว่าเงินที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงไม่อาจจัดซื้อได้ทันที ต้องเก็บออมเงินให้ได้เท่าจำนวนตามที่ต้องการก่อน
2.2 การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะยาว เป็นการออมทรัพย์อย่างมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน เช่น การออมทรัพย์เพื่อไว้ใช้ในยามสูงอายุ หรือเจ็บป่วยไม่สามารถทำงานได้ หรือออมทรัพย์เพื่อการศึกษาของบุตรหลาน หรือเก็บเพื่อซื้อบ้าน ที่ดิน ที่อยู่อาศัย หรือเพื่อการลงทุนทำกิจการ การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะยาว จึงเป็นการออมทรัพย์เพื่อต้องการความมั่นคงทางการเงิน ซึ่งจะมีการใช้ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานกว่า การออมทรัพย์เพื่อประโยชน์ระยะสั้น เช่น เมื่อเกษียณอายุราชการ หรือพ้นจากการทำงานเมื่อสูงอายุ โดยต้องมีการวางแผนที่จะใช้เงินดอกผลจากการออมในการดำรงชีวิต

